การประกวดอาคารประหยัดพลังงาน MEA Energy Saving Building แบ่งระดับในการพิจารณามอบตราสัญลักษณ์ให้อาคารที่เข้าร่วมโครงการระหว่าง 5 ปี (2555-2559) ออกเป็น 2 ระดับ คือ ในระดับที่ 1 ตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงาน” และ ในระดับที่ 2 ตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงานดีเด่น” ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกัน โดยเมื่ออาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่ กฟน. กำหนด จะได้รับป้ายตราสัญลักษณ์และป้ายประสัมพันธ์ของโครงการ เพื่อนำไปติดตั้งประจำ ณ อาคารที่ส่งเข้าร่วมประกวด โดยมีรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ฯ ดังนี้

ระดับที่ 1 ตราสัญลักษณ์ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน”

เกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย

• เงื่อนไขด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า

พิจารณาจากค่า MEA Index ไม่เกินค่าเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด โดยประเมินจากข้อมูลการใช้พลังงานของแต่ละอาคารตามประเภทอาคารและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหากราฟการแจกแจงของอาคารประเภทนั้นๆ เทียบกับอาคารอื่นในกลุ่มเดียวกัน สามารถประเมินข้อมูลเบื้องต้น ได้ที่ http://www.meaenergysavingbuilding.net

• เงื่อนไขด้านคุณภาพการใช้พลังงาน

พิจารณาอาคารที่มีค่า MEA Index ผ่านเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด และต้องมีการใช้พลังงานที่มีคุณภาพที่ดีต่อผู้ใช้งานในอาคารนั้นด้วย ได้แก่ มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารไม่เกินค่ามาตรฐาน มีค่าความส่องสว่างในแต่ละพื้นที่หรือกิจกรรมเพียงพอต่อการใช้งาน มีอุณหภูมิและความชื้นที่อยู่ในสภาวะสบาย โดยโครงการจะตรวจวัดค่าด้านคุณภาพการใช้พลังงาน ณ อาคารจริง เพื่อนำมาประกอบการตัดสิน มีค่ามาตรฐาน ประกอบด้วย
o ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคาร ไม่เกิน 1,000 ppm (อ้างอิง ASHRAE 62)
o อุณหภูมิและความชื้น สำหรับอาคารประเภทต่างๆ
o ค่าความส่องสว่าง (อ้างอิง สมาคมไฟฟ้าแสงสว่าง)

ระดับที่ 2 ตราสัญลักษณ์ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงานดีเด่น”

เกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย

1. เป็นอาคารที่ได้รับตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงาน” ระดับที่ 1 มาแล้วเท่านั้น
2. อาคารต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เกิดผลประหยัดชัดเจน สามารถตรวจวัดได้ภายในระยะเวลาที่โครงการกำหนด
3. ได้รับการเข้าเยี่ยมพบ ณ อาคารจริงเพื่อตรวจประเมินตัดสิน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการ โดยพิจารณาจาก 4 ปัจจัยหลักประกอบกันดังนี้

- ผลการประหยัดพลังงาน 30%

- ความน่าสนใจของมาตรการที่ดำเนินการ 20%

- การมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร 25%

- ความตั้งใจของคณะทำงานและฝ่ายบริหาร 25%

 

ปฎิทินการประกวด ระยะเวลา
ประกาศรับสมัครอาคารเข้าร่วมประกวด 15 ก.ย. – 31 ต.ค. 59
จัดงานสัมมนาเปิดโครงการฯ ปีที่ 5 MEA Energy Saving Building  2017 20 ต.ค. 59
คณะทำงานตรวจสอบใบสมัคร/เข้าตรวจวัดและทวนสอบข้อมูลอาคาร ก.ย. – ธ.ค. 59
จัดงานสัมมนาให้ความรู้กับอาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีที่ 5  พ.ย. 59
จัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตัดสินตราสัญลักษณ์ฯระดับที่ 1 ธ.ค. 59
จัดงานพิธีมอบตราสัญลักษณ์ฯ ระดับที่ 1 ก.พ. 60
เปิดรับข้อเสนอการตรวจวัดและพิสูจน์ผลฯ (M&V) สำหรับอาคารที่ได้รับตราสัญลักษณ์ฯ ระดับที่ 1 และต้องการเข้าร่วมแข่งขันต่อ ในระดับที่ 2 ม.ค. – มี.ค. 60
เมื่อข้อเสนอฯ ได้รับอนุมัติแล้ว อาคารจึงเริ่มดำเนินการปรับปรุง ม.ค. – ต.ค. 60
คณะทำงานเข้าสังเกตุการณ์การตรวจวัดการใช้พลังงานก่อนและหลังปรับปรุง ณ อาคาร ก.พ. – ต.ค. 60
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าเยี่ยมพบประเมินอาคาร พ.ย. 60
 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตัดสินมอบตราสัญลักษณ์ฯระดับที่ 2 และเงินรางวัล ธ.ค. 60
 จัดงานพิธีประกาศรางวัลและมอบตราสัญลักษณ์ฯ ระดับที่ 2 ม.ค. 61
 หมายเหตุ : ระยะเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่โครงการกำหนด

          การประกวดอาคาร MEA Energy Saving Building จะดำเนินการรับสมัครอาคารกลุ่มเป้าหมายตามที่ กฟน. กำหนดในแต่ละปี โดยอาคารที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตามประเภทอาคารที่จัดประกวด  หลังจากนั้น ทางโครงการฯ จะกลั่นกรองข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องของใบสมัครและแจ้งให้อาคารทราบเพื่อดำเนินนัดหมายต่อไป  
 
          ข้อมูลสำคัญ คือ การคำนวณค่า MEA Index ซึ่งจะนำข้อมูลจากใบสมัครมาคิดคำนวณ MEA Index ในเบื้องต้น และเข้าตรวจวัดค่าตามเกณฑ์คุณภาพการใช้พลังงานพร้อมทวนสอบข้อมูลระหว่างใบสมัครกับหน้างานจริง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดและทวนสอบมาคำนวณ MEA Index อีกครั้ง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เมื่ออาคารได้รับการพิจารณาให้ผ่านเกณฑ์ MEA Index อาคารจะได้รับตรา
สัญลักษณ์ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน” ในระดับที่ 1 และมีสิทธิ์เข้าแข่งต่อในระดับที่ 2 ได้ ทางโครงการจะดำเนินการแข่งขันต่อเนื่องในระดับที่ 2 เพื่อขอรับตราสัญลักษณ์ “กฟน. อาคารประหยัดพลังงาน ดีเด่น” และลุ้นเป็นสุดยอดอาคารประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวงในแต่ละประเภทรางวัล

         ทุกประเภทอาคารที่เข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่ 2 ต้องระบุประเภทรางวัลที่ต้องการส่งอาคารเข้าร่วมแข่งขันให้ทางโครงการทราบ ซึ่งประกอบด้วย

          ประเภทรางวัล ตราสัญลักษณ์ “กฟน.อาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ” อาคารที่สามารถเข้าร่วมได้ มี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารประเภท 1) โรงพยาบาล 2) โรงแรม 3) สำนักงาน 4) ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า

          สำหรับ ประเภทรางวัลส่งเสริม ตราสัญลักษณ์ “อาคารนวัตกรรมพลังงานดีเด่น” (BEST OF INNOVATION AWARD) และประเภทรางวัลส่งเสริม ตราสัญลักษณ์ “อาคารพัฒนาปรับปรุงด้านพลังงานดีเด่น” (BEST OF IMPROVEMENT AWARD) อาคารที่สามารถเข้าร่วมได้ มี 6 กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารประเภท 1) โรงพยาบาล 2) โรงแรม 3) สำนักงาน 4) ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า 5) ไฮเปอร์มาร์เก็ต 6) มหาวิทยาลัย

         โดยอาคารที่มีความประสงค์เข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่ 2 ต้องจัดทำข้อตกลงวิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการใช้พลังงาน (M&V) ส่งให้โครงการพิจารณาอนุมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยโครงการฯ จะชี้แจงทำความเข้าใจถึงวิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดที่ยอมรับได้และเป็นตามหลักวิศวกรรมกับทางอาคาร เมื่อวิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการใช้พลังงาน (M&V) ได้รับการอนุมัติแล้ว อาคารจึงสามารถเริ่มดำเนินการตามมาตรการที่เสนอมาได้ และต้องแจ้งให้ทางโครงการเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจวัดการใช้พลังงาน ทั้งก่อนและหลังปรับปรุง

          เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาในการปรับปรุง จะมีการแจ้งนัดหมายของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเข้าตรวจประเมินให้คะแนน ณ อาคาร และสรุปผลคะแนนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประชุมตัดสินอาคารที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ระดับที่ 2 พร้อมตัดสินรางวัลในแต่ละประเภท ตามที่ กฟน. กำหนด และจัดงานพิธีประกาศรางวัลและมอบตราสัญลักษณ์ฯ ให้อาคารที่ผ่านเกณฑ์ พร้อมประชาสัมพันธ์เชิดชูเกียรติผลงานของอาคารผ่านสื่อต่างๆ ในปีถัดไป
Page 1 of 3